ระบบภูมิคุ้มกัน

            ระบบภูมิต้านทานร่างกาย Immune System คือระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมดของ ร่างกายที่ทำหน้าที่คอยป้องกัน ไม่ให้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอม ที่เป็นอันตรายเข้ามาทำอันตรายต่อร่างกายหรือเมื่อหลุดเข้ามาแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันก็จะพยายามทำลาย กำจัดสิ่งแปลกปลอมให้ หมดไปจากร่างกายโดยเร็วและอย่างมีประสิทธิภาพ

หน้าที่โดยสังเขปของระบบอิมมูนร่างกายคือ

- Defense ป้องกันและทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
- Homeostasis คอยกำจัดเซลปกติที่เสื่อมสภาพเช่นเม็ดเลือดที่มีอายุ มากแล้ว ออกจากระบบของร่างกาย
- Surveillance คอยจับตาดูเซลต่างๆที่จะ แปรสภาพผิดไปจากปกติ เช่น คอยดักทำลาย tumor cells เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ความสามารถในการตอบสนองของระบบอิมมูนต่อสิ่งแปลกปลอมนั้น แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ขึ้นกับ ปัจจัยบางอย่างดังต่อไปนี้

1. Genetic factors ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า การตอบสนองทางระบบอิมมูนอยู่ภายใต้การควบคุมทาง genetic ดังหลักฐานการค้นพบไม่นานนี้ เกี่ยวกับ genetic complex บนโครโมโซม ซึ่งควบคุมการตอบ สนองทางอิมมูน และควบคุมชนิดของ histocompatibility antigens ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ คือคู่แฝดชนิดที่กำเนิดจากไข่ใบเดียวกัน (monozygotic twin) มักจะ เป็นโรคเดียวกัน มากกว่าคู่แฝด ที่กำเนิดจากไข่คนละใบ (dizygotic twin) และโรคบางอย่างมักเป็นในกลุ่ม ชนเชื้อชาติหนึ่งมากกว่าอีก เชื้อชาติหนึ่งเป็นต้น ปัจจุบันเขื่อว่าโรคต่างๆ ในมนุษย์เกิดจากความล้มเหลวของ genes ที่ควบคุมการตอบสนอง ทางอิมมูน
2. Age factors เด็กเล็กๆ และผู้สูงอายุเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าในคนหนุ่มสาวทั้งนี้เพราะในเด็กเล็ก ๆ ระบบ อิมมูนยังเจริญไม่เต็มที่ ขาด specific immunity ที่จะใช้ป้องกันโรค ขณะเดียวกันระบบ non-specific immunity ก็บกพร่องด้วย เช่น ผิวหนังบาง และกลไก การเกิด การอักเสบยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์เป็นต้น
เมื่ออายุมากขึ้น การทำหน้าที่ของระบบอิมมูนในร่างกายจะค่อยๆ ลดลงไป ในผู้สูงอายุปริมาณของอิมมูนโนโกลบูลิน และการทำ หน้าที่ของ cell mediated immunity จะน้อยกว่าคนหนุ่มสาว จะเห็นได้ว่า นอกจากผู้สูงอายุจะเป็น โรคติดเชื้อได้ง่ายแล้ว อัตราการเกิดโรค autoimmune และโรคมะเร็ง จะมีมากกว่าในคนหนุ่มสาว
3. Metabolic factors ฮอร์โมนบางชนิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของระบบอิมมูน เช่น steroid จะมีฤทธิ์ยับยั้ง phagocytosis ลดการอักเสบ และลดการสร้างแอนติบอดีย์ จะเห้นได้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับ steroidนานๆ จะเกิดโรคบางชนิด ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น โรคสุกใส (varicella), การติดเชื้อ staphylococus เป็นต้น
4. Environmental factors สิ่งแวดล้มก็มีความสำคัญ กลุ่มชนที่ยากจนจะมีอัตราการเกิดโรคต่างๆสูงกว่ากลุ่มชน ที่มีความเป็นอยู่ ดีกว่า ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการรวมทั้งการขาดอาหาร ซึ่งจะทำให้การทำงานของระบบ อิมมูนเลวลง
5. Anatomic factors ผิวหนังและเยื่อเมือกที่บุอวัยวะต่างๆทำหน้าที่เป็นด่านแรกที่ร่างกายใช้ป้องกันไม่ให้ เชื้อโรค เข้าสู่ร่างกาย (ดูรายละเอียดในเรื่อง non-specific immunity ของบทนี้) ในผู้ป่วยที่เป็น eczema หรือ burns คุณสมบัติดังกล่าวจะเสียไป เกิดการติดโรคและแพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้ง่ายกว่าในคนปกติ
6. Microbial factors จุลชีพประจำถิ่น (normal flora) ที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ โดยไม่ทำให้เกิดโรคเช่นใน ลำไส้ นอกจาก จะช่วยผลิตวิตามิน K ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ จุลชีพที่ทำให้เกิดโรค (pathogenic microorganism) ได้ด้วย เมื่อใดก็ตามที่จุลชีพชนิดแรกถูกทำลาย เช่น ได้รับ broad-spectrum antibiotic จุลชีพให้เกิดโรค จะทวีจำนวนขึ้นเป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้นได้
7. Physiologic fictors ที่มีอยู่ในร่างกายช่วยป้องกันโรคได้ เช่นน้ำย่อยในกะเพาะอาหาร ขนอ่อน (cilia) ในระบบทางเดินหายใจ การขับถ่ายปัสสาวะ ฯลฯ ถ้าสิ่งดังกล่าวผิดไปจากปกติ จุลชีพจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น